อิหร่าน ตามรอยอารยันเปอร์เซีย

กำหนดได้เอง
  • tour_image_iran

Description

อิหร่าน
เดิมประเทศอิหร่านใช้ชื่อประเทศว่าเปอร์เซีย โดยในสมัยต่อมาในช่วงที่เยอรมนีรุ่งเรืองในยุโรป กษัตริย์เปอร์เซียเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศอิหร่าน ซึ่งแปลว่าประเทศของชาวอารยัน (Aryan/ Arian) เพื่อให้ชื่อประเทศมีความเกี่ยวโยงกับเชื้อชาติดั้งเดิม เพื่อหวังผลทางการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้น และภายหลังการปฏิวัติอิสลามเมื่อปี ค.ศ. 1979 ชื่อทางการของประเทศอิหร่านได้เปลี่ยนเป็น Islamic Republic of Iran จนถึงทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาวอิหร่านหรือเปอร์เซียในขณะนั้น เข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนาในบริเวณสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาและในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คนไทยนิยมเรียกชาวเปอร์เซียว่า แขกเทศหรือแขกเจ้าเซน โดยชาวเปอร์เซียเฉพาะสมัยพระเจ้าธรรมราชาและพระนารายณ์มหาราช มีชาวอิหร่านเข้ามารับราชการเป็นจำนวนมาก โดยที่สำคัญคือพระยาเฉกอะหมัด (Shake Ahmad) หรือเจ้าพระยาบวรราชนายก ปฐมจุฬาราชมนตรี ต้นสกุลบุนนาค โดยชาวอิหร่านและลูกหลานไทยผู้สืบเชื้อสายชาวอิหร่านมีมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งด้านสถาปัตยกรรม (การก่ออิฐเป็นลายและช่องลม) ภาษาศาสตร์ (คำว่าสบู่และกุหลาบ) และอาหาร (แกงมัสมั่น) ให้ไว้กับสังคมไทยเป็นจำนวนมาก
ชาวอิหร่านมีความรู้จักประเทศไทยเป็นอย่างดีจากการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และมองภาพลักษณ์ของไทยในทางที่ดี ทั้งสภาพบ้านเมือง ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต แต่ชาวอิหร่านจำนวนไม่น้อยก็มีทัศนคติในทางลบกับผู้หญิงไทยโดยเฉพาะหนุ่มอิหร่านที่เคยไปเที่ยวพัทยาหรือพัฒนพงศ์
อีลาไมต์ Elamite เป็นชนชาติแรกที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศอิหร่านในปัจจุบัน ก่อนยุคจักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อราว พ.ศ. 43 มีอิทธิพลครอบงำทางตะวันออกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน การพัฒนาการเขียนของชาวอีลาไมต์เป็นคู่ขนานกับชาวสุเมเรีย คาดว่าเก่าสุดเมื่อราว 7, 457 ปีก่อนพุทธศักราช มีเมืองซูซ่าที่เป็นอาณาจักรเมืองหลวงและมีปิระมิดเก่าแก่ 5,000-6,000 ปี และระบบชลประทานน้ำทั้งระบบที่เมืองซูสห์ต้า Shusthar ศูนย์การดำเนินงานของระบบไฮดรอลิค หอวัดระดับน้ เขื่อน โรงคุมน้ำ และอ่างเก็บน้ำ เป็นประจักษ์พยานถึงองค์ความรู้ของชาวอีแลมไมท์โบราณ Elamites รวมถึงชาวเมโสโปเตเมียนโบราณ และความเชี่ยวชาญ ของชนเผ่านาเบเทียน Nabatean และอิทธิพลของอารยธรรมโรมัน และการจัดการน้ำของชาวเปอร์เซียนสมัยซัสซานิด
จากนั้นเมื่อชาวอารยันเข้ามาก่อตั้งราชวงศ์อะคาเมนิดส์ พระเจ้าไซรัสมหาราช มีเมืองหลวงแห่งแรกที่พาร์ซากาด Pasargadae ปัจจุบันเป็นราวศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะย้ายไปที่ เมืองเพอร์ซิโพลิส Persepolis นครโบราณที่สร้างโดยกษัตริย์ดาริอุสมหาราช เมื่อก่อนคริสตกาลประมาณ 500 ปี จนถึงรัชสมัยของดาริอุสที่ 3 ซึ่งมหานครแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงต่อเติมมาตลอดระยะเวลา 150 ปี
เมืองกาซวิน Qazvin ซึ่งในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเปอร์เซีย และชุมทรงการค้าบนเส้นทางสายไหมโบราณ ดังจะเห็นได้จากคาราวานซารายขนาดใหญ่ในเมืองกาซวิน ก่อนที่จะย้ายไปยังเมืองหลวงใหม่ที่อิศฟาฮานในปี ค.ศ.1598
เมืองอีสฟาฮาน Isfahan ซึ่งเป็นเมืองที่มั่งคั่งด้านศูนย์กลางการค้าขาย อุตสาหกรรม ศูนย์กลางของวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรมและวิทยาการ จนถึงขั้นสูงสุดในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะการทอพรมเปอร์เซีย การประดิษฐ์อักษรภาพอิสลามอันแสนวิจิตรสวยงามแบบเปอร์เซีย
เมืองชีราซ Shiraz ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟาร์ ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเทือกเขาซาโกรซ เมืองนี้มีความสำคัญต่อชาวอิหร่านเพราะในอดีตเป็นต้นกำเนิดของชาวเปอร์เซียและยังเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดที่มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเปอร์เซโพลิส (Persepolis) ของยุคเปอร์เซียโบราณ
ปัจจุบัน เตหะราน Tehran นอกจากจะเป็นเมืองหลวงแล้ว ยังเป็นเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ฯลฯ เตหะรานยังเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจ การบินพาณิชย์ ในภูมิภาคตะวันออกกลางอีกด้วย
นอกจากอารยธรรมเมืองหลวงนี้แล้วเรายังพาท่านไปชม เมืองราชท์ Rasht มีทะเลสาปแคสเปี้ยน Caspian Sea ซึ่งที่นี่จะมีชีื่อเสียงด้านการเพาะและส่งออกไขป่ลาคาเวียร์ แวะชมตลาดปลา สะพานปลาและชมวิถีชีวิตของหมู่บ้านชาวประมง
เมืองยาซด์ Yazd เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมีดีส Medes ด้วย จนกระทั่งในสมัยของอะคาเมนิดส์ จากประวัติศาสตร์การปกครองที่ผ่านมา มีการส่งกองกำลังเข้ายึดและทำลายบ้านเมืองให้เสียหายแต่เนื่องจากเมืองยาซ์ดได้ตั้งอยู่ไกลและมีสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ จึงทำให้รอดพ้นจากความเสียหายและไม่มีอันตรายจากการโจมตีของข้าศึกจึงทำให้เมืองยาซ์ดยังคงไว้ซึ่งสิ่งที่เป็นศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมมาจนถึงทุกวันนี้ในสมัยของอเล็กซานเดอร์มหาราช
คาชาน Kashan อยู่ทางตอนเหนือของอิสฟาฮาน เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งอยู่ห่างจากเตหะรานประมาณ 240 กม. คาชานมีชื่อเสียงในด้านการทำพรมและผ้าไหม อีกทั้งกระเบื้องดินเผาที่เรียกว่า ‘คาชิ’ โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตศิลปกรรมดังกล่าวรวมไปถึงเซรามิก ภาชนะที่ทำด้วยทองแดง โรงงานทอผ้าไหมอีกด้วย
หมู่บ้านมาซูเล่ห์ Masouleh Village ที่เก่าแก่และยังคงรักษาวิถิชีวิตแบบเปอร์เซียนโบราณที่ใช้ชีวิตอยู่ตามเนินเขาเรียงทับกันเป็นชั้นๆมีความเป็นเอกลกัษณข์องสถาปัตยกรรมที่น่าหลงใหลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพหมู่บ้านที่แต่งแต้มด้วยต้นไม้ธรรมชาติที่ปรับเปลี่ยนไปตามฤดกูาลจนน่าเยี่ยมชมทุกฤดู
หมู่บ้านอะบียาเนห์ Abyaneh Village ซึ่งเป็นหมู่บ้านโบราณที่สวยที่สุดในอิหร่าน อายุกว่า 2,000 ปี ตั้งอยู่ในหุบเขาทางตอนกลางของคาชาน หมู่บ้านนี้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวอิหร่านเองและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเนื่องจากยังรักษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม เป็นชาวพื้นเมืองจากยุคอีลาไมท์ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาและการแต่งกายที่ไม่เหมือนกับชาวอิหร่านทั่วไป

Close